พ.ต.อ.ไพโรจน์ ขันธบุญ ผกก.สภ.ขาณุ

:: เมนูหลัก ::
หน้าแรก สภ.ขาณุฯ
ประวัติ สภ.ขาณุฯ
ประวัติ อำเภอขาณุฯ
ทำเนียบผู้บังคับบัญชา
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
โครงสร้าง / แผนงาน
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
กิจกรรมตำรวจ
เวบบอร์ด

เว็บลิงค์

 
:: เรื่องราวน่ารู้ ::
1 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
1 การป้องกันอาชญากรรม
1 มาตรการบันทึกคะแนน
1 ยาเสพติดและการป้องกัน
1 วิธีการป้องกันรถหาย
1 การใช้รถอย่างปลอดภัย
1 ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล
1 คู่มือการใช้อินเตอร์เน็ต
1 พ.ร.บ.ตำรวจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน

ยาเสพติด หมายถึง สารเคมีหรือสารใดก็ตามซึ่งเมื่อบุคคลเสพหรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพและแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะเสพยาชนิดนั้นๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้นๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ก็ตาม
2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้นๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
สถานที่ให้คำปรึกษาด้านป้องกัน และแนะนำการบำบัดรักษาขั้นต้น
1. สำนักงานศึกษาป้องกันการติดยา(กระทรวงสาธารณสุข) 286 ถนนพระราม6 พญาไท กรุงเทพฯ โทร. 2824180-5
2. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยศูนย์อาสาสมัครยาเสพติด ตึกมหิดล กรุงเทพฯ โทร. 2455522
3. ศูนย์สุขวิทยาจิต พญาไท กรุงเทพฯ โทร.2815241
4. สมาคมสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ โทร.2452733
5. สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กรุงเทพฯ โทร.2459340-9
สถานบำบัด
1. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2528111-7
2. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2461946
3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร.5310080-8
4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โทร.4681116-20
5. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 4112191
6. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.2512970
7. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ สี่พระยา โทร.2364055
8. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
9. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี


การป้องกันการติดยาเสพติด
1. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยาเสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หายเด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
3. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 2527962 , 2525932 และที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 2459350-9

ลักษณะผู้ใช้ยาเสพติด
  • ตาโรยขาดความกระปรี้กระเปร่า น้ำมูกไหล น้ำตาไหล ริมฝีปากเขียวคล้ำแห้ง แตก (เสพโดยการสูบ)
  • เหงื่อออกมาก กลิ่นตัวแรง พูดจาไม่สัมพันธ์กับความจริง
  • บริเวณแขนตามแนวเส้นโลหิต มีร่องรอยการเสพยาโดยการฉีดให้เห็น
  • ที่ท้องแขนมีรอยแผลเป็นโดยกรีดด้วยของมีคมตามขวาง (ติดเหล้าแห้ง ยา กล่อมประสาท ยาระงับประสาท)
  • ใส่แว่นตากรองแสงเข้มเป็นประจำเพราะม่านตาขยายและเพื่อปิดนัยน์ตาสีแดงก่ำ
  • มักสวมเสื้อแขนยาวปกปิดรอยฉีดยา โปรดหลีกให้พ้นจากบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าว ชีวิตจะสุขสันต์ตลอดกาล

อันตรายจากการใช้สารระเหย
ในปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดได้หันไปหายาเสพติดตัวอื่นที่ราคาถูกกว่าหาได้ง่ายกว่ามาทดแทนผงขาว นั่นคือ "สารระเหย" ชนิดต่างๆ เช่น ทินเนอร์ผสมสี น้ำมันเบนซิน น้ำมันไฟแช็ก น้ำมันก๊าด น้ำมันแล็กเกอร์ กาวชนิดต่างๆ น้ำมันชักเงา ยาทาเล็บ ตลอดจนสเปรย์ชนิดต่างๆ โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการหนีเสือปะจระเข้เพราะสารเสพติดแบบใหม่นี้มีพิษร้ายแรงกว่าเฮโรอีนมากมายหลายสิบเท่า เพราะในขณะที่เฮโรอีนทำให้สุขภาพทั่วไปทุรดโทรมก็จริงแต่ก็ไม่ได้ทิ้งความพิการถาวรไว้ให้แก่อวัยวะใดๆ ในร่างกาย และหากเลิกเสพ พักฟื้นไม่นานสุขภาพก็จะแข็งแรงกลับสู่สภาพปกติได้ แต่พวก "สารระเหย" นี้ หากเสพติดจนติดและเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายเกิดพยาธิสภาพที่ถาวร เป็นความพิการที่ไม่สามารถแก้ไขให้กลับคืนสู่ปกติได้อีก (รายละเอียดในตาราง) เช่น มะเร็งในเลือด สมองพิการ ตับพิการ และที่ร้ายกว่านี้ คือพิการทางกรรมพันธุ์ด้วย คือ ไปทำให้โครโมโซม ซึ่งเป็นตัวถ่ายทอดกรรมพันธุ์ไปสู่ลูกหลาน และกระทบกระเทือนถึงความมั่นคงของประเทศชาติอย่างยิ่ง พวกนักโทษที่ถูกศาลตัดสินจำคุกในความผิดต่างๆ และเป็นผู้ติดเฮโรอีน เมื่ออยู่ในคุกผงขาวก็ยิ่งหายากและราคายิ่งแพงขึ้น เป็นที่ทราบกันว่า นักโทษพวกนี้จะแย่งกันไปทำงานแผนกช่างไม้ ช่างทาสี ช่างเครื่องยนต์ เพราะจะได้มีโอกาสได้ใกล้ชิดและใช้พวกน้ำมันระเหยพวกนี้
นอกจากนี้ยังมีพวกเด็กนักเรียนมัธยมต้นและปลาย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และในจังหวัดภาคเหนือ มีแนวโน้มว่ามีการเสพติดยาตัวใหม่นี้กันอย่างแพร่หลาย อายุเฉลี่ยระหว่าง 8-10 ปี มักจะเสพกันเป็นกลุ่ม ในวัด ในห้องที่ลับตาคน โดยใช้ลำลี ผ้าเช็ดหน้าหรือเสื้อยืดชุบทินเนอร์จนชุ่มแล้วสูดดมเข้าปอด หมุนเวียนส่งต่อไปจนเมามาย เป็นสิ่งที่น่าเวทนาอย่างยิ่ง ผู้ใหญ่ที่เห็นหรือทราบมาก็ไม่ค่อยใส่ใจ เพราะคิดว่าคงไม่มีอันตรายร้ายแรงอะไร หารู้ไม่ว่ามันร้ายเสียยิ่งกว่าผงขาวหลายสิบเท่า
บางคนอาจฉีดสเปรย์เข้าตู้เสื้อผ้าหรือตู้ลับ แล้วยื่นหน้าเข้าสูดดม และเห็นว่ายาเสพติดพวก "น้ำมันระเหย" นี้ มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของใช้แทบทุกครัวเรือน หรือหาซื้อได้ทุกหนทุกแห่งด้วยราคาถูก ประกอบทั้งทุกชนิดมีกลิ่นหอมที่ประชาชนทั่วไปจำนวนไม่น้อยชอบกลิ่นของมัน (สำหรับคนส่วนใหญ่อาจรู้สึกเหม็นเวลาได้กลิ่นน้ำมันทินเนอร์ น้ำมันเบนซิน สีทาบ้าน สีทาเฟอร์นิเจอร์ แล็กเกอร์ แต่ก็มีคนที่ดมแล้วรู้สึกหอมและชอบ) จึงทำให้เสพติดได้ง่ายด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์โดยเฉพาะเด็กๆ นักเรียนทั้งชายและหญิง และประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบถึงพิษภัยอันร้ายแรงของมัน จึงเห็นเป็นเรื่องเล็ก
พวก "สารระเหย" นี้ เมื่อสูดดมเข้าไปในกระเพาะอาหารก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในหลอดโลหิต ไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆ และส่วนต่างๆ ของร่างกายและไปออกฤทธิ์โดยตรงด้วยการไปกดสมองส่วนกลาง
ดังนั้น พอสูดดมไม่กี่นาทีก็จะมีอาการเมา ลักษณะของคนเมา "สารระเหย" นั้น คล้ายคนเมาเหล้า คือ เวียนศรีษะตาพร่า เวลาดูอะไรจะเพ่งจ้องเหมือน "ตาขวาง" ลิ้นไก่สั้น เดินโซเซ ง่วงซึม จิตใจครึกครื้น เห่อเหิม คึกคะนอง (ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติกรรมที่อุกอาจ เช่น ประกอบอาชญากรรมได้) สติปัญญาทึบ มีหูแว่ว ภาพหลอน ประสาทหลอน ความคิดแบบหลงผิด และหากสูดดมต่อไปจะค่อยๆ หมดสติจนถึงขั้นโคม่าและตายได้
สาเหตุตายนั้นส่วนมากเนื่องจากสูดดมยาจนเกินขนาด ยานี้ไปกดสมองส่วนกลาง โดยเฉพาะไปกดที่ศูนย์ควบคุมการหายใจ ทำให้หยุดหายใจ
นอกจากนี้ ยานี้ไปออกฤทธิ์ต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วและไม่เป็นจังหวะ พิษของ "สารระเหย" ต่อร่างกาย
หากเสพเป็นเวลานานๆ จะเกิดพิษร้ายต่อร่างกายได้ 2 แบบ
1. พิษระยะเฉียบพลัน
2. พิษระยะเรื้อรัง


บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
  • ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท
  • เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
  • มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
  • ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
  • มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
  • ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
  • ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
สารระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย
ตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 กำหนดมาตรการควบคุมไม่ให้นำสารระเหยมาใช้ในทางที่ผิดไว้หลายประการและกำหนดให้ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว มีความผิดและต้องรับโทษ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. กำหนดให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้ขายสารระเหยต้องจัดให้มีภาพหรือข้อความที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุสารระเหย เพื่อเป็นการเตือนให้ระวังการใช้สารระเหยดังกล่าวผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขายสารระเหยแก่ผู้ที่มีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปี เว้นแต่เป็นการขายโดยสถานศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. ห้ามไม่ให้ผู้ใดขาย จัดหา หรือให้สารระเหยแก่ผู้อื่นซึ่งตนรู้หรือควรรู้ว่าเป็นผู้ติดสารระเหย ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ห้ามไม่ให้ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม หรือใช้อุบายหลอกลวงให้บุคคลอื่นใช้สารระเหย บำบัดความต้องการของร่ายกายหรือจิตใจ ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
5. ห้ามไม่ให้ผู้ใดใช้สารระเหยบำบัดความต้องการของร่างกายหรือจิตใจ ไม่ว่าโดยวิธีสูดดมหรือวิธีอื่นใด ผู้ฝ่าฝืนต้องรับโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
พึงระลึกเสมอว่า การเสพติดสารระเหยนอกจากจะเป็นโทษต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วย
 

 

 

 

Google
 
เว็บทั่วโลก เฉพาะประเทศไทย
   
สภ.ขาณุวรลักษบุรี อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร 62130
โทรศัพท์ 055-779200 แฟกซ์ 055-779200
ติดต่อ จนท.สารสนเทศ 08-75715825
e-MAIL : PHETploy230@hotMAIL.COM