:: เมนูหลัก ::
หน้าแรก สภ.ขาณุฯ
ประวัติ สภ.ขาณุฯ
ประวัติ อำเภอขาณุฯ
ทำเนียบผู้บังคับบัญชา
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
โครงสร้าง / แผนงาน
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
กิจกรรมตำรวจ
เวบบอร์ด

เว็บลิงค์

 
:: เรื่องราวน่ารู้ ::
1 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
1 การป้องกันอาชญากรรม
1 มาตรการบันทึกคะแนน
1 ยาเสพติดและการป้องกัน
1 วิธีการป้องกันรถหาย
1 การใช้รถอย่างปลอดภัย
1 ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล
1 คู่มือการใช้อินเตอร์เน็ต
1 พ.ร.บ.ตำรวจ

 

ประวัติอำเภอขาณุวรลักษบุรี

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสต้นและพักแรมที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี ตอนหนึ่งว่า “ เวลาบ่ายสี่โมง แวะจอดถ่ายรูปหาดแล้วลงเรือชลาประพาสเที่ยวต่อไปแวะบ้านข้างฝั่งตะวันออกถึงบ้านตาแสนปม เป็นปมไปทั้งตัวแม้ไม่มีอะไรแดดเผาจึงได้ลงเรือต่อมาจนเวลาย่ำค่ำขึ้นที่บ้านหาดแสนตอ เดินข้ามไปวัดสว่างอารมณ์ ตำบลที่เรียกว่า แสนตอ เป็นชื่อเมืองขาณุนี้ มีตอมากจริงๆ เรือได้โค่นครั้งหนึ่ง เพราะเหตุที่ตลิ่งพังมาก เดินตามถนนฝั่งตะวันตก แวะเก็บอะไรต่ออะไรบ้าง มาจนถึงวัดที่เป็นวัดสร้างใหม่ เรียกว่า วัดหัวเมือง ตั้งแต่วัดนั้นจนถึงที่ว่าการเมือง ซึ่งเป็นเรือนหลังคามุงแฝกทั้งนั้น ที่จอดเรืออยู่เหนือที่ว่าการนิดหนึ่ง ”:

อำเภอขาณุวรลักษบุรีตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ อยู่ริมแม่น้ำปิงทางทิศตะวันตก ห่างจากลำน้ำปิงประมาณ 300 เมตร มีถนนจาก ที่ว่าการอำเภอ ไปจรดถนนพหลโยธิน ที่ตลาดสลกบาตร ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร แต่เดิม อำเภอขาณุวรลักษบุรี มีฐานะเป็น กิ่งอำเภอ เรียกว่า “ กิ่งอำเภอแสนตอ ” แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 29 หมู่บ้าน

คือ ตำบลแสนตอ ตำบลยางสูง ตำบลระหาน ตำบลสลกบาตร และตำบลบ่อถ้ำ โดยขึ้นตรงกับอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชรที่ว่าการอำเภอแสนตอ แต่เดิมตั้งอยู่ที่ หน้าโรงเรียนวัดน้อยวรลักษณ์ หมู่ที่ 3 ตำบลแสนตอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอในปัจจุบันประมาณ 2 กิโลเมตร สาเหตุที่ย้ายที่ว่าการอำเภอขาณุมาอยู่ที่ ณ ที่ตั้งปัจจุบันนี้ เนื่องจาก ที่ว่าการอำเภอได้พังลงน้ำปิงไปหมดแล้ว

จากการที่สถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอคับแคบ และตลิ่งที่ว่าการอำเภอพังลงทุกปี นายอำเภอคลองขลุง และนายดำ ระตะจารุ ปลัดอำเภอตรี ซึ่งดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากิ่งอำเภอเสนตอ ในสมัยนั้น จึงได้คิดขยับขยายกิ่งอำเภอเสียใหม่ โดยได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นายสมพงษ์ พงศ์ไพบูลย์ พ่อค้าตลาดแสนตอ ได้อุทิศที่ดินให้ปลูกสร้างสถานที่ราชการอย่างกว้างขว้าง โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด จึงได้ย้ายสถานที่ราชการมาปลูกสร้างใหม่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ ซึ่งเป็นที่ว่าการอำเภอหลังเก่าใน ปัจจุบันนี้

การที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี แต่เดิมชื่อว่าอำเภอแสนตอ นั้น ได้ทราบมาว่าสมัยก่อนการค้าขายได้ใช้ทางเรือเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากถนนหนทางยังไม่สะดวกรวดเร็วเหมือนในปัจจุบัน พวกชาวเรือที่มาค้าขายในลำน้ำปิง พอเข้ามาในเขตตำบลแสนตอ ก็จะเห็นตอโพล่อยู่ตามลำน้ำบ้าง ตามหาดทรายบ้างมากมายสุดคณานับได้ ถ้าใครเดินเรือไม่ระวังเรือก็จะชนตอ ได้รับความเสียหาย พวกชาวเรือจึงเรียก หมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านแสนตอ ” และเมื่อเป็นที่ตั้งตำบล ทางราชการก็นำชื่อมาตั้งเป็นตำบลแสนตอ ต่อมามีการตั้งกิ่งอำเภอ ทางราชการก็นำชื่อมาตั้งเป็น “ กิ่งอำเภอแสนตอ ” ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้เสนอ ให้ตั้งชื่อใหม่ว่า “กิ่งอำเภอขาณุบุรี ” ซึงแปลได้ความว่า เมืองแสนตอ เช่นเดิม เพียงแต่ใช้ศัพท์ให้ฟังดูไพเราะและสละสลวย แต่ปรากฏว่า เมื่อกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศตั้งเป็นกิ่งอำเภอ ในปี พ.ศ. 2483 ได้เพิ่มคำว่า “ วรลักษณ์ ” ให้ด้วย จึงมีชื่อว่า “ กิ่งอำเภอขาณุวรลักษณ์บุรี ” คำว่า ” ขาณุวรลักษณ์บุรี ” นั้นประกอบด้วยคำว่า ขาณุ แปลว่า ตอ คำว่า วร เป็นชื่อขุนวร ผู้ริเริ่มก่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอคนแรก คำว่า ลักษณ แปลว่า หมื่นแสน คำว่า บุรี แปลว่าเมือง เมื่อมารวมกันก็ยังมีความหมายเช่นเดิม และในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอ และได้พิจารณาตัดพยัญชนะตัว “ ณ ” ออกไป จึงมีชื่อว่า “ อำเภอขาณุวรลักษบุรี ”
เมื่อได้มีการย้ายที่ว่าการอำเภอเดิมมาก่อสร้างใหม่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบล แสนตอ นั้น การก่อสร้างในระยะแรก สร้างในลักษณะอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขข้าง 2 มุข ขนาดกว้าง 7.28 เมตร ยาว 30.25 เมตร ต่อมาได้มีประชาการเพิ่มมากขึ้นไปด้วย ทำให้สถานที่ราชการที่สร้างไว้คับแคบเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ไม่สะดวก ที่ว่าการอำเภอที่ก่อสร้างไว้ เป็นอาคารชั้นเดียวแบบใต้ทุนสูง นายธรรมศักดิ์ จันเพ็ญ นายอำเภอขาณุวรลักษบุรี ในสมัยนั้น จึงได้ขอความร่วมมือจากข้าราชการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และพ่อค้าประชาชน ช่วยกันบริจาคเงินเทคอนกรีตชั้นล่างพร้อมทำฝา ประตู หน้าต่าง ชั้นล่าง จนครบเท่ากับชั้นบน โดยดำเนินการเสร็จในปี พ.ศ.2502 คิดเป็นเงินค่าก่อสร้างประมาณ 20,000 บาทโดยไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการเลย ทำให้สถานที่ราชการกว้างขวาง เพียงพอที่จะให้แผนกต่างๆ ปฏิบัติงานได้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ดี อาคารที่ทำการได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานหลายปีแล้วทำให้หลังคาชำรุดทรุดโทรม ตัวอาคารเป็นไม้ก็ชำรุด ไปตามกาลเวลา ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการจึงได้จัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ในบริเวณที่ดินเดียวกับที่ว่าการอำเภอเดิม แต่ถัดออกไปด้านหลังเป็นอาคารตึกสองชั้น ต่อมาในปี 2547 ทางราชการก็ด้าจัสรรงบประมาณให้ดำเนินการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอขาณุวรลักษบุรี หลังใหม่ในปัจจุบัน
 

 

 

 

Google
 
เว็บทั่วโลก เฉพาะประเทศไทย
   
สภ.ขาณุวรลักษบุรี อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร 62130
โทรศัพท์ 055-779200 แฟกซ์ 055-779200
ติดต่อ จนท.สารสนเทศ 08-75715825
e-MAIL : PHETploy230@hotMAIL.COM