:: เมนูหลัก ::
หน้าแรก สภ.ขาณุฯ
ประวัติ สภ.ขาณุฯ
ประวัติ อำเภอขาณุฯ
ทำเนียบผู้บังคับบัญชา
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
โครงสร้าง / แผนงาน
เขตพื้นที่รับผิดชอบ
กิจกรรมตำรวจ
เวบบอร์ด
:: เรื่องราวน่ารู้ ::
1 กฎหมายที่ประชาชนควรรู้
1 การป้องกันอาชญากรรม
1 มาตรการบันทึกคะแนน
1 ยาเสพติดและการป้องกัน
1 วิธีการป้องกันรถหาย
1 การใช้รถอย่างปลอดภัย
1 ผู้ที่เข้าข่ายเป็นผู้มีอิทธิพล
1 คู่มือการใช้อินเตอร์เน็ต
1 พ.ร.บ.ตำรวจ

 

"โครงการ  ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน"

โครงการ  ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน
สถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

------------------------------------------------

 

๑. ชื่อโครงการ   ศูนย์ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน

๒. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากสภาพปัญหาทั้งในและต่างประเทศเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำ ประชาชน
ตกงานได้รับความเดือดร้อน สินค้าขึ้นราคา ปัญหาแนวคิดทางการเมืองแบ่งแยกออกเป็น ๒ ฝ่าย
อย่างชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาประทุษร้ายต่อทรัพย์ และอาชญากรรมต่างๆ ขึ้นในพื้นที่  ประชาชน
ไม่ได้รับความเป็นธรรมในรูปคดีต่างๆ  ความไม่เข้าใจทางกฎหมายในการดำเนินคดีตามขั้นตอน
ต่างๆ ที่พนักงานสอบสวนปฏิบัติต่อประชาชนในแต่ละราย ประชาชนไม่เข้าใจในสิทธิ หลักเกณฑ์
ในการสอบสวนผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็ก รวมทั้งปัญหาข้อพิพาทต่างๆ จากปัญหา
และเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ทางสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี จึงได้จัดทำโครงการ ศูนย์ให้ความ
ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน เพื่อเป็นการบริการทางวิชาการและพัฒนาให้เป็นที่ ยอมรับจาก
สังคมมากยิ่งขึ้น

๓. วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน  รวมทั้งไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางด้านกฎหมายแก่
ประชาชนทั่วไป
๒. เพื่อให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมาย ทั้งที่มาพบโดยตรงและตอบข้อซักถามในเวบไซด์
๓. เพื่อประสานความร่วมมือในหน่วยงานของรัฐเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน  ได้รับทราบและ
เข้าใจในข้อกฎหมาย เพื่อลดความตึงเครียด และเสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจในการดำเนิน
การตามขั้นตอนต่างๆของคดีให้ เป็นที่ยอมรับจากสังคม
๔. เพื่อประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก  โดยการเพิ่มช่องทางผ่านสื่อสารสนเทศในเว็บไซด์ของสถานี
ตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

๔. เป้าหมาย
๑. ประชาชนในเขตพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร  และอำเภอใกล้เคียง
๒. ประชาชนที่มาใช้บริการของสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี
๓. ประชาชนทั่วไปที่เข้าเยี่ยมชมในเว็บไซด์ของสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

๕. ระยะเวลาในการดำเนินการ
๑. ทุกวันจันทร์ ถึงวันศุกร์  ณ ห้องพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี
๒. ช่วงกำหนดเวลาที่จัดให้มีโครงการสถานีตำรวจเคลื่อนที่ ในเขตพื้นที่ที่ให้บริการ
๓. สอบถามได้ในเว็บไซด์ของสถานีภูธรขาณุวรลักษบุรี   โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่สารสนเทศทำการ
ตรวจสอบ ในเว็บไซด์เสนอรายงานให้ผู้บังคับบัญชาเพื่อตอบคำถาม

๖. การประเมินผล
ใช้แบบสอบถามจากผู้มาใช้บริการของสถานี/การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท/การเข้าเยี่ยมชมและการให้
คำปรึกษาทางเว็บไซด์ของสถานี

๗. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน  รวมทั้งข้อไกล่เกลี่ย
พิพาท เดือนละ อย่างน้อย  ๕  ราย
๒. ประชาชนได้รับทราบในสิทธิ หลักเกณฑ์ในการสอบสวนผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหาซึ่งเป็น
เด็ก  รวมทั้งปัญหาข้อพิพาทต่างๆ
๓. เป็นการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก  เพื่อทำความเข้าใจในทางดีแก่ประชาชนได้รับทราบในการ
ปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
๔. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินคดีต่างๆของพนักงานสอบสวนด้วยดี
๕. ปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชนในการใช้บริการของสถานีจะหมดไป
๖. ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของประชาชนจะได้รับความสนใจดูแลเป็นอย่างดี
๗. ประชาชนได้รับความผาสุกและให้ความไว้วางใจ ศรัทธาในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ

๘. ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

๙. ผู้เสนอโครงการ
พ.ต.ต.พิสิษฐ์ เสือเขียว
(  พิสิษฐ์   เสือเขียว  )
สารวัตรอำนวยการ สถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

๑๐. ผู้ให้ความเห็นชอบ

พ.ต.ท.ณรงค์ ทองดี                               พ.ต.ท.สมพงษ์ ประดิษฐ์วรกุล
(  ณรงค์   ทองดี   )                                  (  สมพงษ์ ประดิษฐ์วรกุล )
พนักงานสอบสวน(สบ๓)                         รองผู้กำกับการฝ่ายสืบสวนสอบสวน
สถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี                       สถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี  

๑๑. ผู้อนุมัติโครงการ

                                                พ.ต.อ.เดฐพันธ์ พันธ์ศิริ
                                                   (  เดฐพันธ์    พันธ์ศิริ   )
                                           ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรขาณุวรลักษบุรี

 

 

หลักเกณฑ์ในการสอบสวนผู้เสียหาย พยาน หรือผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็ก

๑. การสอบสวนผู้เสียหรือพยานที่เป็นเด็ก (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ)
     มาตรา ๑๓๓ ทวิ บัญญัติว่า “ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่ สามปีขึ้นไป
หรือใน
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึงสามปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งป็นเด็ก
ร้องขอหรือในคดีทำร้าย
ร่างกายเด็กอายุไม่เกินสิบแปดป การถามปากคำเด็กไว้ในฐานะ
เป็นผู้เสียหาย หรือพยาน
ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก 
และให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคม สงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการ
เข้าร่วมในการถามปากคำนั้นด้วย

     ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคม
สงเคราะห์
บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการทราบ
     นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถาม
ปากคำ
อาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรักเกียจได้  หากมีกรณีดังกล่าวให้
้เปลี่ยนตัวผู้นั้น

     ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๑๓๙ การถามปากคำเด็กตามวรรคหนึ่งให้พนักงาน
สอบสวน
จัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงการถามปากคำดังกล่าวซึ่งสามารถนำออก
ถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง
ไว้เป็นพยาน
     ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคม
สงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ  และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำพร้อม
กันได้ ให้พนักงาน
สอบสวนถามปากคำเด็กโดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามวรรคหนึ่งอยู่
ร่วมด้วยก็ได ้ แต่ต้อง
บันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลอื่นไว้ในสำนวนการสอบสวน และ
มิให้ถือว่าการถาม ปากคำผู้เสียหาย
หรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำ
ไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย
”

                   การสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                       เด็กในที่นี้หมายความถึงบุคคลที่มีอายุไม่เกิน  ๑๘  ปีบริบูรณ์

  1. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงตั้งแต่  ๓  ปีขึ้นไป หรือ
  2. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง ๓ ปี และผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก
    ร้องขอ หรือ
  3. ในคดีทำร้ายร่างกายเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี

๑.๑ วิธีการถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน(ป.วิอาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ)
วิธีการถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยานต้องดำเนินการดังนี้

  1. ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก(ป.วิ. อาญา มาตรา
    ๑๓๓ ทวิ วรรคแรก)
  2. ให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการ
    เข้าร่วม ในการถามปากคำนั้นด้วย (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคแรก)
  3. ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้บุคคลตาม ข้อ ๒.ทราบ
    (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสอง)
  4. บุคคลตามข้อ ๒. อาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้  หากมี
    กรณีดังกล่าว ให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสาม)
  5. การถามปากคำเด็กให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถ
    นำออก ถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน(ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสี่)
  6. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง  ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลทั้งหมดตามข้อ ๒.
    พร้อมกันได ้  ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็ก  โดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่
    ร่วมก็ได้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจรอบุคคลนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน และมิให้
    ถือว่า การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กในกรณีดังกล่าวที่ได้กระทำ
    ไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย(ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคห้า)

           ข้อสังเกต  ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งให้พนักงานสอบสวน
    ร่วมกับคนที่มาพิจารณา
    ว่ามีเหตุจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่ เช่น คดีใกล้จะขาดอายุความ
    หรือ กรณีใกล้จะถึงแก่ความตายเป็นต้น  และถ้ามี
    การสอบสวนเพิ่มเติมแจ้งข้อหาเพิ่มเติม
    ก็ไต้องปฏิบัติตาม ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓ ทวิ ด้วย

๑.๒  การชี้ตัวผู้ต้องหาสำหรับผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก(ป.วิ.อาญามาตรา ๑๓๓ ตรี)
     มาตรา ๑๓๓ ตรี บัญญัติว่า “ในกรณีที่พนกงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้เด็ก
อายุไม่เกินสิบแปดปีในฐานะเป็นผู้เสียหายหรือพยานชี้ตัวบุคคลใด  ให้พนักงานสอบสวน
จัดให้มีการชี้
ตัวบุคคลในสถานที่เหมาะสมและสามารถจะป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัว
นั้นเห็นตัวเด็ก  การชี้ตัว
บุคคลดังกล่าวให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลซึ่ง
เด็กร้องขอและพนักงานอัยการร่วมอยู่
ด้วย  และให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ
วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
”

การจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กชี้ตัวผู้ต้องหา ต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
๑. ในกรณีที่พนักงานสอบสวนมีความจำเป็นต้องจัดให้เด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในฐานะเป็นผู้เสียหาย
หรือพยาน
๒. ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัวบุคคลในสถานที่ที่เหมาะสม
๓. ห้องชี้ตัวนั้นต้องเป็นห้องที่สามารถจะป้องกันมิให้บุคคลซึ่งจะถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็ก
๔. ต้องให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลซึ่งเด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วย
๕. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลตามข้อ ๔. ดังกล่าวพร้อมกันได้ 
ให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการชี้ตัว โดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ร่วมก็ได ้ แต่ต้องบันทึกเหตุที่
ไม่อาจรอ บุคคลนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน  และมิให้ถือว่าการชี้ตัวของผู้เสียหายหรือพยานซึ่ง
เป็นเด็กในกรณีที่ได้กระ ทำไปแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ให้นำบทบัญญัติใน ป.วิ. อาญา มาตรา
๑๓๓ ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลม) การชี้ตัวผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐาน
ของพนักงานสอบสวน และประการสำคัญก็คือเพื่อให้ศาลเชื่อว่าผู้ต้องหานั้นเป็นบุคคลที่กระทำความ
ผิดจริงตามที่กล่าวหา และจะทำให้มี
น้ำหนักน่าเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ต้องหาเป็นบุคคล
คนเดียวกัน กับผู้กระทำความผิดที่ผู้กล่าวหาหรือพยานที่ให้การไว้หรือไม่ แล้วสอบสวนปากคำยืนยัน
การชี้ตัวพร้อม ด้วย ถ่ายภาพยืนยันไว้ก็จะเป็นการดี

      ในการจัดให้มีการชี้ตัวผู้ต้องหา (ไม่รวมถึงการชี้รูปผู้ต้องหา) ให้กระทำแต่เฉพาะวิธี
ชี้
ตัวผู้ต้องหา โดยมิให้ผู้ต้องหาเห็นผู้ชี้ตัวเท่านั้น  ทั้งนี้เพื่อเพื่อการคุ้มครองผู้กล่าวหาและ
พยานผู้ทำการ
ชี้ตัวผู้ต้องหา โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
       (๑)กรณีผู้กล่าวหาและพยานให้การว่ารู้จักผู้ต้องหาแต่ไม่คุ้นเคยหรือไม่รู้จัก แต่เห็น
หน้าอีกจำได้ตามที่ให้การถึงตำหนิรูปพรรณไว้โดยละเอียดใน
คำให้การ ต้องจัดให้มีการชี้
ตัวผู้ต้องหาหรือภาพถ่ายผู้ต้องหาโดยเร็ว
และในโอกาสแรกที่สามารถจัดทำได้และก่อนที่
ภาพของผู้ต้องหาจะปรากฏต่อสื่อมวลชน
  เมื่อจัดให้ผู้กล่าวหาหรือพยานชี้ตัวผู้ต้องหาหรือ
ภาพถ่ายผู้ต้องหาแล้ว  ให้สอบสวนปากคำยืนยันตามที่ให้การไว้ด้วย ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ว่า
ผู้กล่าว
หา หรือพยานจำผู้ต้องหาได้แน่นอนตามที่ได้ให้การไว้
       การจัดชี้ตัวหรือภาพถ่ายผู้ต้องหาอาจกระทำได้ทั้งในสถานีตำรวจหรือสถานที่อื่น
สำหรับผู้ทำหน้า
ที่อำนวยการชี้ตัวหรือภาพถ่าย  ให้พนักงานสอบสวนเจ้าของคดีหรือ
ผู้บังคับ บัญชาเป็นผู้ดำเนินการ

       สถานที่ที่จะทำการชี้ตัวผู้ต้องหา  ต้องเป็นท้องที่ที่กำบังพอที่จะป้องกันไม่ให้บุคคล
ภายนอกมอง
เห็นบุคคลที่อยู่ภายในห้องได้จากทางอื่นนอกจากช่องกระจก (มีขนาด
พอสมควรที่จะมองเข้าไปภายในห้องได้โดย
สะดวก) กระจกที่ใช้เป็นกระจกมองทาง
เดียว (
one-way mirror)  โดยติดตั้งให้ผู้ชี้ตัวผู้ต้องหามองผ่านเข้าไปใน ห้องชี้ตัว
ผู้ต้องหาได้  แต่บุคคลภายในห้องชี้ตัวผู้ต้องหาไม่สามารถมองเห็นบุคคลที่อยู่ภายนอก
ห้องชี้ตัวได้ และภายในห้องชี้ตัวผู้ต้องหาต้องมีแสงสว่างเพียงพอที่จะเห็นบุคคลภายใน
ห้องได้อย่างชัดเจน

      (๒) วิธีปฏิบัติในการชี้ตัวผู้ต้องหา
          ๒.๑ เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่กรณี ห้ามจัดให้ผู้ที่จะทำการชี้ตัวผู้ต้องหามี
โอกาสเห็นตัว ภาพถ่าย
หรือตำหนิรูปภรรณผู้ต้องหาก่อนทำการชี้ตัว
          ๒.๒ พยายามจัดให้ผู้ต้องหาแต่งกายลักษณะคล้ายคลึงกับเวลาที่เกิดเหตุ
ยืนปะปนกับบุคลอื่น
เพศเดียวกัน  ซึ่งมีรูปร่าง ขนาด อายุ และแต่งกายคล้ายคลึงกันกับ
ผู้ต้องหาจำนวนไม่น้อยกว่า ๕ คน และอยู่รวมกับ
ผู้ต้องหาในที่เดียวกัน
          ๒.๓ ให้ผู้ต้องหาและบุคคลที่จัดไว้ยืนเข้าแถวอยู่รวมกัน  หรือเดินผ่านผู้ชี้ตัว
ทีละคน และให้ผู้ต้องหาเลือกที่ยืนหรือลำดับที่เดินผ่านผู้ชี้ตัวแล้วแต่กรณี ตามความ
ประสงค์ของผู้ต้องหาทุกครั้ง  และเมื่อผู้ต้องหา
พอใจอย่างไรแล้ว ให้บันทึกรับทราบ
การชี้ตัวของผู้ต้องหาไว้ด้วย

          ๒.๔ ในการชี้ตัวผู้ต้องหา ให้ผู้ทำหน้าที่อำนวยการในการชี้ตัวผู้ต้องหาจัดให้มี
บุคคลภายนอกซึ่ง
มิใช่ตำรวจและเป็นบุคคลที่เชื่อถือของบุคคลโดยทั่วไป เช่น ข้าราชการ
ฝ่ายปกครอง  ข้าราชการครู  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
สื่อมวลชน หรือบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับ
นับถือของบุคคลในพื้นที่ที่มีการชี้ตัว อย่างน้อย ๒ คน เป็นพยานในการชี้ตัว
ผู้ต้องหา
          ๒.๕ ห้ามผู้ใดกระทำการอันเป็นเชิงแนะนำให้ชี้ตัวผู้ต้องหาคนใด
          ๒.๖ เมื่อชี้ผู้ต้องหาแล้ว ให้บันทึกผลการชี้ตัวไว้เป็นหลักฐาน โดยแยกทำบันทึก
เป็นรายบุคลของ
ผู้เข้าชี้ตัว  แล้วให้ผู้ทำหน้าที่อำนวยการชี้ตัว ผู้ชี้ตัว และพยานในการชี้
ตัวลงลายมือชื่อรับรองการชี้ตัวไว้ด้วย เมื่อชี้ตัว
ผู้ต้องหาแล้วให้ลงบันทึกรายงานประจำวัน
เป็นหลักฐานและสอบปากคำผู้ชี้ตัวไว้ด้วย

          ๒.๗ ในการชี้ตัวผู้ต้องหา  จะจัดให้มีการบันทึกภาพไว้ด้วยก็ได้ (๑)
-----------------------------
(๑) หนังสือกรมตำรวจ ที่ ๐๖๐๖.๖/๕๒๗  ลง ๑๖ มกราคม ๒๕๔๑ เรื่อง การปฏิบัติใน
การ ชี้ตัวผู้ต้องหา

๒. การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็ก (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๒)

                   การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ต้องหาอายุไม่เกิน  ๑๘  ปี
  2. ถ้าเป็นคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่ถึง ๓ ปี เด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหาต้องร้องขอ
  3. คดีที่ผู้เสียหายซึ่งถูกทำร้ายร่างกายเป็นเด็กอายุไม่เกิน  ๑๘  ปี
  4. ให้นำวิธีการถามปากคำเด็กในฐานะผู้เสียหายหรือพยานมาใช้ด้วย
  5. ต้องมีทนายความร่วมในการสอบสวนเด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหาด้วย

ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๔/๒ บัญญัติว่า “ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๓๓ ทวิ และมาตรา
๑๓๓ ตรี  มาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปี”
      ในคดีทำร้ายร่างกายเด็กที่เป็นผู้เสียหายอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ตาม ป.วิ. อาญา มาตรา
๑๓๓ ทวิ นั้น
จะต้องจัดให้มีสหวิชาชีพเข้าร่วมการสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ถึงแม้เด็กที่เป็นผู้เสียหายไม่ได้ร้องขอก็ตาม
แต่ถ้าเป็นกรณีที่เด็กเป็นผู้ต้องหาทำร้าย
ร่างกายผู้อื่น (มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี) ก็ไม่ต้องจัดให้มีสหวิชาชีพเข้าร่วม
การสอบสวนก็ได้เพราะ ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ บังคับเฉพาะเด็กที่เป็นผู้เสียหาย
เท่านั้น ซึ่งกรณี
การสอบสวนเด็กที่เป็นผู้ต้องหา และมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี
นั้น เด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหาจะต้องร้องขอ จึงจะ
ต้องมีการจัดให้มีสหวิชาชีพเข้าร่วมการ
สอบสวน

      ข้อสังเหตุ   บุคคลที่เข้าร่วมในการถามปากคำเด็กซึ่งเป็นผู้ต้องหานั้น  ให้มีนักจิตวิทยาหรือ
นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ พนักงานอัยการ ซึ่งจะต้องมีทนายความร่วมอยู่ด้วยในการ
สอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กตาม ป.วิ.
อาญา มาตรา ๑๓๔/๑ วรรคแรก ซึ่งจะมีความแตกต่างจาก
การสอบสวนผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กตรงนี้ และการสอบสวน
ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กเพิ่มเติมก็ต้อง
ดำเนินการตาม ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ ด้วยทุกครั้ง
กรณีผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กให้การรับสารภาพ
และต้องมีการนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพด้วยนั้น ก็ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ. อาญา มาตรา
๑๓๓ ทวิ (วิธีการถามปากคำในฐานะผู้เสียหายหรือพยาน) มาใช้ด้วย  เพราะการนำชี้ที่เกิดเหตุ
ประกอบคำรับสารภาพนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ
การสอบสวนด้วย แต่ต้องไม่กระทำต่อหน้าประชาชน
อันจะทำให้ผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กเกิดความหวาดกลัว  และทำให้มีผลกระทบ
ต่อเด็กในทางสังคมได้ 
ประการสำคัญ จะเป็นการขัดเจตนารมณ์ของกฎหมาย

       ๒.๑  วิธีการถามปากคำเด็กในฐานะผู้ต้องหา(ให้นำ ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ
มาใช้
โดยอนุโลมแก่การสอบสวนผู้ต้องหาซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ตาม ป.วิ. อาญา
มาตรา ๑๓๔/๒)

                            วิธีการถามปากคำเด็กในฐานะผู้ต้องหา ต้องดำเนินการดังนี้

  1. ให้แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ
    วรรคแรก)
  2. ให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์  บุคคลที่เด็กร้องขอและพนักงานอัยการ เข้าร่วม
    ในการถามปากคำนั้นด้วย (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคแรก)
  1. ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้บุคคลตาม ข้อ ๒. ทราบ (ป.วิ.อาญา
    มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสอง)
  1. บุคคลตามข้อ ๒. อาจถูกผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้  หากมีกรณีดังกล่าว
    ให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสาม)
  1. การถามปากคำเด็กให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพและเสียงซึ่งสามารถนำออก
    ถ่ายทอด ได้อย่างต่อเนื่องไว้เป็นพยาน (ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคสี่)
  2. ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่ง  ซึ่งมีเหตุอันควรไม่อาจรอบุคคลทั้งหมดตามข้อ ๒.
    พร้อมกันได้ ให้พนักงานสอบสวนถามปากคำเด็ก  โดยมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ร่วมก็ได้
    แต่ต้องบันทึกเหตุที่ไม่อาจ รอบุคคลนั้นไว้ในสำนวนการสอบสวน  และมิให้ถือว่าการถาม
    ปากคำผู้เสียหายหรือพยานซึ่งเป็นเด็ก ในกรณีดังกล่าวได้กระทำไปแล้วไม่ชอบด้วย
    กฎหมาย (ป.วิ  อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ วรรคห้า)
    ข้อสังเกตุ  ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งให้พนักงานสอบสวนร่วมกับคนที่มา
    พิจารณาว่า มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนหรือไม่
      เช่น  คดีใกล้จะขาดอายุความหรือกรณี
    ใกล้จะถึงแก่ความตาย เป็นต้น  และถ้ามีการสอบสวนเพิ่มเติมแจ้งข้อหาเพิ่มเติมก็ต้อง
    ปฏิบัติตาม ป.วิ. อาญา มาตรา ๑๓๓ ทวิ ด้วย